มาตรฐานรถยนต์ไฟฟ้า CLTC / NEDC / WLTP / EPA คืออะไร มาตรฐานไหนแม่นยำสุด

วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องของ มาตรฐานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ปัจจุบันในโลกนี้ มีมาตรฐานอยู่ 4 แบบได้แก่  CLTC / NEDC / WLTP / EPA

  • CLTC (China Light-Duty Vehicle Test Cycle)
  • NEDC (New European Driving Cycle)
  • WLTP (Worldwide Harmonized Light Vehicle Test Procedure)
  • US EPA (United States Environmental Protection Agency)

 

CLTC (China Light-Duty Vehicle Test Cycle)

เป็นมาตรฐานที่ไอเสียที่ใช้ในประเทศจีน มีการอ้างอิงการทดสอบจาก NEDC แต่จะเน้นความแม่นยำกว่าเดิม สำหรับมาตรฐาน CLTC จะมีการทดสอบ 3 แบบได้แก่ ช้า , กลาง , เร็ว ใช้เวลาทดสอบ 30 นาที รถจะวิ่งในความเร็ว 14.5 กม./ชม. ทำให้ตัวเลขอัตราประหยัดเชื้อเพลิงค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตามตัวเลขค่อนข้างแตกต่างหากเทียบกับ WLTP ที่ทดสอบในความเร็ว 114 กม./ชม.

 

NEDC (New European Driving Cycle)

ถือว่าเป็นมาตรฐานโบราณ ใช้กันตั้งแต่ปี 70-80s เป็นมาตรฐานแรกๆในยุโรป เน้นใช้งานในเมือง และ ถนนชานเมือง ปัจจุบันทางยุโรปเปลี่ยนมาใช้มาตรฐานใหม่คือ WLTP แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนผ่านในปี 2017 แต่มาตรฐาน NEDC มักใช้ในประเทศโซนเอเชีย อย่างจีน และ อื่นๆ

 

WLTP (Worldwide Harmonized Light Vehicle Test Procedure)

นี้คือมาตรฐานใหม่ของยุโรป เริ่มใช้ในปี 2017 เพื่อปรับปรุงคุณภาพ และมาตรฐานที่เข้มงวดมากขึ้นในปัจจุบัน แน่นอนมันทดแทน NEDC และ มีการทดสอบที่หนักกว่า หรือจะพูดง่ายๆ หากเทียบมาตรฐานกับ NEDC ความต่างการวิ่ง/ชาร์จ จะอยู่ประมาณ 20-30%

 

US EPA (United States Environmental Protection Agency)

มาตรฐานที่วัดโดยฝั่งอเมริกา มีการทดสอบในเมือง และ วิ่งทางไกล มาตรฐาน EPA ของรถยนต์ไฟฟ้ามีความแม่นยำอย่างมาก อ้างอิงผลการทดสอบในโลกแห่งความเป็นจริง ค่าประมาณช่วงของ EPA นั้นต่ำกว่าตัวเลขช่วง WLTP ประมาณ 11 เปอร์เซ็นต์ เช่น WLTP ทดสอบได้ 100 กม. และ EPA จะได้ 89 กม.

 

แต่หากเทียบมาตรฐานนี้คือ WLTP กับ EPA มาตรฐายของยุโรปอย่าง WLTP จะเหมาะกับประเทศไทยมากกว่า เพราะดูมีมาตรฐานกว่าอันอื่น เราขอไม่นับรวมสภาพอากาศในการขับขี่ ซึ่งมีผลต่อการใช้ไฟฟ้าของตัวรถยนต์ รวมทั้งอากาศก็มีผลต่อแบตเตอรี่ มอเตอร์ไฟฟ้าเช่นกัน

 

รวมทั้งปัจจัยด้านกายภาพ น้ำหนักตัวรถ น้ำหนักการบรรทุก การวิ่งในเมืองรถติด ทั้งหมดล้วนส่งผลต่อระยะวิ่ง หากค่ายไหนบอกว่าวิ่งได้เท่าไหร่ ขอให้คิดในแง่ลบไว้ก่อนเลย หักลบสัก 30-40% จะดีกว่า

 

NEDC (New European Driving Cycle) เลิกใช้แล้ว ตั้งแต่ 2 ปีก่อน (ประเทศจีนหันไปใช้มาตรฐาน CLTC) นอกจากนี้ในยุโรปเปลี่ยนมาใช้ WLTP – Worldwide Harmonized Light Vehicle Test Procedure แต่หากใช้มาตรฐานเก่าอย่าง NEDC ทดสอบไม่แปลกใจหรอกที่ค่าการวิ่งต่อชาร์จจะสูงกว่า

 

ตามแหล่งข่าวของจีน มาตรฐาน CLTC ตัวเลขค่อนข้างสูง กว่า NEDC ตัวอย่างเช่น รถยนต์ไฟฟ้า WLTP 398 กม./ชาร์จ มาตรฐาน NEDC จะวิ่งได้ 484 กม./ชาร์จ แต่สำหรับ CLTC จะสูงถึง 509 กม./ชาร์จ

 

WLTP มีความแม่นยำมากกว่า CLTC อย่างไม่ต้องสงสัยในช่วงการทดสอบรถยนต์ไฟฟ้า มาตรฐานของ CLTC มีแนวโน้มสูงกว่า WLTP 15 ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ แต่สำหรับรถยนต์จำหน่ายในจีน ต้องทดสอบตามมาตรฐาน CLTC แม้แต่ Tesla ยังคงต้องทำตามนั้น

ในสหรัฐอเมริกา ขั้นตอนการทดสอบของ EPA นั้นเข้มงวดกว่า NEDC และ WLTP ส่งผลให้ค่าประมาณที่แม่นยำกว่าสำหรับการขับขี่บนถนนในอเมริกาในโลกความจริง

แต่สุดท้ายนี้ อย่าลืมว่า รถยนต์ไฟฟ้าจะมีระยะทางขับขี่จริงจะขึ้นอยู่สไตล์การขับขี่ การใช้อุปกรณ์เสริม และสภาพถนน ดังนั้นตัวเลขต่างๆ อาจจะไม่ตรงกันก็เป็นได้นะครับ

Back to top button